New Home 1
HITAP กับโควิด-19
HITAP กำลังดำเนินงานวิจัยเรื่องโควิด-19 เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19
ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์กับประเทศไทยแล้ว อาจเป็นประโยชน์กับหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก
ที่กำลังเผชิญปัญหาเดียวกันด้วย

งานวิจัย
การจัดสรรเตียงในหออภิบาลผู้ป่วยฉุกเฉินและเครื่องช่วยหายใจ
ขณะนี้จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในประเทศไทย แต่ทรัพยากรเพื่อดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินมีจำกัด
ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่ประเทศไทยควรเตรียมรับมือ เนื่องจากการรักษาในปัจจุบันเน้นการรักษาแบบประคับประคอง
ขณะนี้ HITAP ร่วมกับ IHPP กำลังพัฒนาแนวทางการจัดสรรทรัพยากร (เตียงในหออภิบาลผู้ป่วยฉุกเฉินและเครื่องช่วยหายใจ)
ซึ่งจะช่วยให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างเป็นธรรม โปร่งใส และลดความเครียดในการตัดสินใจของแพทย์ได้
อยู่ดีและมีสุข
โควิด-19 ไม่ได้เป็นภัยต่อเฉพาะร่างกาย แต่ยังส่งผลต่อจิตใจ
โดยก่อให้เกิดความเครียดและความกังวล รวมถึงทำให้วิถีชีวิตของคนจำนวนมากเปลี่ยนไป
ถ้าอย่างนั้น ต้องทำอย่างไรจึงจะรักษาทั้งกายและใจให้ผ่านสถานการณ์เช่นนี้ไปได้
ผลกระทบจากโรคและนโยบาย
โควิด-19 รุกรานทั่วโลก คร่าชีวิตคนไปมากมาย รัฐต้องออกนโยบายมาเพื่อรับมือ ซึ่งกระทบกับทั้งประชาชนและประเทศ ประเทศต่าง ๆ รับมือโควิด-19 อย่างไร ผลจากโควิด-19 กระทบใครบ้าง อย่างไร และจะลดผลกระทบรุนแรงได้อย่างไรบ้าง การสำรวจประเด็นเหล่านี้ จะพาเราก้าวผ่านสถานการณ์ไปได้พร้อมกัน
ยา การรักษา และระบบสุขภาพ
วัคซีนและยารักษาคือความหวังในการหยุดโควิด-19 แต่จนกว่าวันนั้นจะมาถึง ระบบสุขภาพต้องรับมือกับโควิด-19 ด้วยทรัพยากรและความรู้ที่มี ตอนนี้เรารักษาโควิด-19 ด้วยอะไรได้บ้าง ระบบสุขภาพยังไหวอยู่ไหม ถ้าไม่ไหวแล้วทำอย่างไร
เรื่องน่ารู้ของโควิด-19
ยังมีเรื่องอีกมากมายที่เรายังไม่รู้เกี่ยวกับโควิด-19 และข้อมูลใหม่ ๆ ก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ HITAP จึงขอหยิบบางประเด็นที่น่าสนใจมาเล่าให้ฟัง
FAQ ถาม-ตอบ เรื่องโควิด-19
สำหรับบุคคลทั่วไป
สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 จะสิ้นสุดลงเมื่อใด อย่างไร
การระบาดของโควิด-19 จะสิ้นสุดลงได้ 2 รูปแบบ ได้แก่
- มีวัคซีน – ต้องใช้เวลาทดลองอย่างน้อย 12-18 เดือน และเมื่อมีการฉีดให้ประชากรราว 60% จะมีผู้มีภูมิคุ้มกันมากพอที่โควิด-19 จะไม่สามารถระบาดได้ต่อไป
- ภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ – ใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี ในสถานการณ์นี้ไม่มีวัคซีน จะมีผู้ที่ติดเชื้อและมีภูมิคุ้มกันต่อโรคจำนวนมากพอที่จะป้องกันการระบาด
อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ในรูปแบบที่ 3 เช่นกันว่า จะไม่มีจุดสิ้นสุดชัดเจนว่าการระบาดสิ้นสุดแล้ว และต้องมีการมาตรการรับมือการระบาดบางอย่างที่ใช้อยู่ในปัจจุบันต่อไปในระยะยาว แต่การเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างถาวรจะช่วยชะลอการระบาดลงได้
ที่มา: สำนักข่าว บีบีซี, 25 มีนาคม 2563 https://www.bbc.com/news/health-51963486
สำหรับบุคลากรด้านสาธารณสุข
ขณะนี้มียาอะไรบ้างที่เป็นความหวังในการรักษาโควิด-19
วิธีการรักษา รวมถึงยา ที่นักวิจัยกำลังศึกษา แบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
- ยาต้านไวรัส เช่น เรมเดซิเวียร์ (remdesivir) โลปินาเวียร์/ริโทนาเวียร์ (lopinavir/ritonavir)
- ยาต้านมาลาเรีย ได้แก่ คลอโรควิน (choloroquine) และไฮดรอกซีคลอโรควิน (hydroxychloroquine)
- ยากดภูมิคุ้มกัน หรือปรับภูมิคุ้มกัน เช่น โทซิลิซูแมบ (tocilizumab)
- การรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิดหรือพลาสมา
เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2563 National Institute of Health สหรัฐอเมริกา แถลงข่าวว่าพบว่าเรมเดซิเวียร์ชะลอการลุกลามของโควิด-19 ในลิง นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาเชิงทดลองในคนดำเนินอยู่อีกหลายเรื่อง
โควิด-19 เป็นโรคใหม่ที่มนุษย์ยังมีข้อมูลเพียงจำกัด ทุกคนมีคำถามมากมาย HITAP รวบรวมคำถามที่มักมีผู้สงสัยและหาคำตอบจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้มาไว้แล้ว